หัวข้อ   “ก่อนโค้งสุดท้ายศึกชิงชัยผู้ว่าฯ กทม.
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 อีกประมาณ 3 อาทิตย์จะถึงศึกชิงเก้าอี้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง
ก่อนโค้งสุดท้ายศึกชิงชัยผู้ว่าฯ กทม.” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปี
ขึ้นไป ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,586 คน  เมื่อวันที่ 1 - 5
กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา พบว่า คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 94.7 คิดว่าจะไปเลือกตั้งผู้ว่าฯ
กทม. ที่จะมีขึ้นในวันที่ 3 มี.ค. 2556 นี้
  ขณะที่ร้อยละ 2.9 ยังไม่แน่ใจว่าจะไป
หรือไม่ มีเพียงร้อยละ 2.4 ที่คิดว่าจะไม่ไป
 
                 เมื่อถามความคิดเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “นโยบายของผู้สมัคร
ผู้ว่าฯ กทม. คนใดน่าสนใจและทำได้จริงมากที่สุด” พบว่า   อันดับแรกคือ
เบอร์ 9 พลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ (ร้อยละ 36.3)
  รองลงมาคือ
เบอร์ 16 ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร (ร้อยละ 27.1)  และเบอร์ 11 พลตำรวจเอก
เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส (ร้อยละ 7.2)
 
                 ส่วนความคิดเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. คนใดเข้าถึงประชาชนมากที่สุด” พบว่า
อันดับแรกคือ เบอร์ 9 พลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ (ร้อยละ 58.9)
   รองลงมาคือ เบอร์ 16 ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์
บริพัตร (ร้อยละ 34.3)  และเบอร์ 11 พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส (ร้อยละ 5.3)
 
                  สุดท้ายเมื่อถามว่า “หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ท่านจะเลือกใครเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร”
อันดับแรกคือ เบอร์ 9 พลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ ร้อยละ 35.2
  รองลงมาคือเบอร์ 16 ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์
บริพัตร ร้อยละ 28.3  และเบอร์ 11 พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ร้อยละ 7.0  ขณะที่ร้อยละ 24.7 ยังไม่ตัดสินใจ
 
                  สำหรับสิ่งที่คนกรุงเทพฯ ไม่อยากเห็นมากที่สุดในการเลือกตั้งครั้งนี้คือ การซื้อสิทธิ์ขายเสียง (ร้อยละ 36.5)  รองลงมาคือ  การหาเสียงด้วยวิธีใส่ร้ายป้ายสี (ร้อยละ 29.4)  การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อต่างๆ (ร้อยละ
19.9)  การก่อกวน ข่มขู่ ทำร้ายผู้สมัครฝ่ายตรงข้าม (ร้อยละ 7.2)  และ การพัง/ทำลายป้ายหาเสียงของคู่แข่ง (ร้อยละ 7.0)
 
                  รายละเอียดดังต่อไปนี้
 
 
             1. ความตั้งใจที่จะไปเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ที่จะมีขึ้นในวันที่ 3 มี.ค. 2556 นี้

 
ร้อยละ
คิดว่าจะไป
94.7
คิดว่าจะไม่ไป
โดยให้เหตุผลว่า
       - เบื่อหน่ายการเมือง
ร้อยละ 0.4
       - ทำงาน ติดธุระ ไป ต่างจังหวัด
ร้อยละ 1.3
       - ไม่เคยไปเลือกอยู่แล้ว
ร้อยละ 0.2
       - เลือกไปก็ไม่เห็นทำประโยชน์ให้เลย
ร้อยละ 0.3
       - ไม่มีผู้สมัครที่สนใจจะเลือก
ร้อยละ 0.2
2.4
ไม่แน่ใจ
2.9
 
 
             2. ความคิดเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “นโยบายของผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. คนใดน่าสนใจและทำได้จริง
                 มากที่สุด”


 
ร้อยละ
เบอร์ 9 พลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ
36.3
เบอร์ 16 ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร
27.1
เบอร์ 11 พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส
7.2
เบอร์ 17 คุณสุหฤท สยามวาลา
1.9
เบอร์ 10 คุณโฆสิต สุวินิจจิต
1.1
ยังไม่แน่ใจ
26.4
 
 
             3. ความคิดเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. คนใดเข้าถึงประชาชนมากที่สุด”
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
เบอร์ 9 พลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ
58.9
เบอร์ 16 ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร
34.3
เบอร์ 11 พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส
5.3
เบอร์ 17 คุณสุหฤท สยามวาลา
0.4
เบอร์ 10 คุณโฆสิต สุวินิจจิต
0.8
ผู้สมัครคนอื่นๆ
0.3
 
 
             4. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ท่านจะเลือกใครเป็นผู้ว่าราชการ
                 กรุงเทพมหานคร”

รายชื่อผู้สมัคร
สำรวจวันที่
21-23 ม.ค. 56
(ร้อยละ)
สำรวจวันที่
1-5 ก.พ. 56
(ร้อยละ)
เพิ่มขึ้น/ลดลง
(ร้อยละ)
เบอร์ 9 พลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ
23.9
35.2
+11.3
เบอร์ 16 ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร
23.6
28.3
+4.7
เบอร์ 11 พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส
6.5
7.0
+0.5
เบอร์ 17 คุณสุหฤท สยามวาลา
1.3
1.7
+0.4
เบอร์ 10 คุณโฆสิต สุวินิจจิต
0.5
0.8
+0.3
ผู้สมัครคนอื่นๆ
1.0
0.6
-0.4
งดออกเสียง
1.1
1.7
+0.6
ยังไม่ตัดสินใจ
42.1
24.7
-17.4
 
 
             5. สิ่งที่ไม่อยากเห็นมากที่สุดในการเลือกตั้งครั้งนี้ คือ

 
ร้อยละ
การซื้อสิทธิ์ขายเสียง
36.5
การหาเสียงด้วยวิธีใส่ร้ายป้ายสี
29.4
การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อต่างๆ
19.9
การก่อกวน ข่มขู่ ทำร้ายผู้สมัครฝ่ายตรงข้าม
7.2
การพัง/ทำลายป้ายหาเสียงของคู่แข่ง
7.0
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสะท้อนความเห็นต่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครปี 2556
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขต
กรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต  ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling)  จากนั้นจึงสุ่มประชากร
เป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว  และการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,586 คน เป็นเพศชายร้อยละ 43.7 และเพศหญิงร้อยละ 56.3
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัวและสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามแบบปลายเปิด จากนั้นคณะนักวิจัย
ได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  1 - 5 กุมภาพันธ์ 2556
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 6 กุมภาพันธ์ 2556
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
693
43.7
             หญิง
893
56.3
รวม
1,586
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
219
13.8
             26 – 35 ปี
293
18.5
             36 – 45 ปี
353
22.3
             46 ปีขึ้นไป
721
45.4
รวม
1,586
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
878
55.4
             ปริญญาตรี
565
35.6
             สูงกว่าปริญญาตรี
143
9.0
รวม
1,586
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสากิจ
199
12.5
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
313
19.7
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
404
25.6
             รับจ้างทั่วไป
152
9.6
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
367
23.1
             นักศึกษา
97
6.1
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
54
3.4
รวม
1,586
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776